วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16 วันที่ 4 ตุลาคม 2554

อาจารย์นัดสอบมีการสอบปลายภาค

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 วันที่ 27 กันยายน 2554

อาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อสรุปให้นักศึกษาฟังและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดเพื่อที่จะสอบในครั้งหน้า
ความรู้ที่ได้รับจาก วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
- ความหมายวิทยาศาสตร์
- สื่อวิทยาศาสตร์
- ทักษะวิทยาศาสตร์
- ของเล่นวิทยาศาสตร์

- การสอนแบบโครงการ
- การเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
- การทำโครงการวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- การจัดนิทรรศการ
-การประเมินทางวิทยาศาสตร์


- จากที่ได้ฟังเนื่อจากการสรุปองค์ความรู้มาทั้งหมดทำให้ทราบว่า การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเราต้องเข้าใจ เรียนรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้เพื่อที่นำไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ และทั้งหมดที่ได้เรียนมาในวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ทราบเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์ในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 20 กันยายน 2554

อาจารย์เปิดดู Bloggr และตรวจดู Bloggr ของนักศึกษาและก็ให้นักศึกษาไปแก้ไขเพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนก
3.ทักษะการแสดงปริมาณ
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการแสดงความคิดเห็น
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
อาจารย์ให้ส่งแผนของแต่ละคน แผนของดิฉัน เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้ ดังนี้
จุดประสงค์
1. สามารถบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
2. มีความเข้าใจว่าผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ
1. การบอกอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้
2. การเข้าใจของผลไม้แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
- สาระที่ควรเรียนรู้
1. ประโยชน์ของผลไม้
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง ดังนี้ ดูซิผลไม้ไทย มีลำไย และส้มโอ มะละกอและแตงโม ผลโตๆมีมากมาย มีไว้ขายและรับประทาน
ขั้นสอน
1. ครูนำผลไม้จำลองมาให้เด็กๆดูหลายชนิด แล้วครูหยิบผลไม้ขึ้นมา 1 ชนิดและถามว่า เด็กๆทราบไหมว่าผลไม้ที่ครูหยิบมามีประโยชน์อย่างไรบ้างเอ่ย
2. ครูให้เด็กออกมาหยิบผลไม้ที่ตนเองชอบ 1 ชนิด
3. ให้เด็กบอกว่าผลไม้ที่เด็กชอบมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
4. ครูนำภาพประกอบประโยชน์จากการที่เด็กๆทานผลไม้แล้วดีอย่างไร เช่น กินผลไม้แล้วร่างกายแข็งแรง กินผลไม้แล้วขับถ่ายง่าย ฯลฯ
ขั้นสรุป
- ใช้คำถามว่าผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และร่วมกันท่องคำคล้องจองอีกครั้ง
สื่อ
1. คำคล้องจอง
2. ผลไม้จำลอง
3. รูปภาพ
การประเมิน
สังเกต
1. การพูดบอกประโยชน์ของผลไม้
2. จากการตอบคำถามและเล่าประสบการณ์เดิม


- จากการเรียนในวันนี้ทำให้ทราบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้างมีความสำคัญอย่างไรและประโยชน์การเขียนแผนว่าถ้าเรามีแผนการสอนเราก็จะง่ายต่อการจัดการเรียนสอนให้กับเด็กได้

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งแผนกลุ่ม โดย กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน หน่วยเรื่องผลไม้ และอาจารย์ถามว่าเรื่องที่เราเอามานั้นเอามาจากไหน หัวข้อเรื่องที่เราจะนำมาสอนเราก็ต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
และในแผนการสอนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ส่วนประกอบมีดังนี้
- วัตถุประสงค์

- สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ
- กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป
เราจะต้องเขียนให้ครบทุกส่วนประกอบที่มีอยู่ในแผน เพื่อง่ายแก่การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็ก และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนผน คือ หน่วยเห็ด เพื่อให้ทราบวิธีการเขียนที่ถูกต้องและนำไปเขียนแผนในแต่ละวันของตนเองที่ย่อยจากของกลุ่ม โดยให้แต่ละคนในกลุ่มเลือกหัวเรื่องที่ย่อยจากหัวเรื่องใหญ่มาเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ในแต่ะลวัน มั้งหมดมี 5วัน

- จากการเรียนวันนี้ได้ทราบถึงวิธีการเขียนที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยว่าควรมีอะไรเป็นลำดับชั้นตอนและสามารถรู้ได้อย่างไรว่าควรจัดประสบการณ์แบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งงานประดิษฐ์ที่ประดษฐ์จากแกนทิชชู ของดิฉันประดษฐ์ กล้องผสมสี
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบว่าการผสมสี 2สี แล้วจะเกิดเป็นสีอื่นอีกได้
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู 6 อัน
2. กระดาษแก้ว 3 สี
3. กระดาษสี
4. สติกเกอร์ใส
5. กรรไกร
6. กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ 6 แผ่น
3. นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6อัน
4. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5. นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1. นำกล้องอันเล็กสอดใส่อันใหญ่แล้วส่งไปทางที่มีแสงก็จะเกิดการผสมแล้วจะเปลี่ยนเป็นอีกสีหนึ่ง
เช่น ถ้านำกล้องสีเหลืองมาใส่กับสีนำเงิน จะเกิดเป็น สีเขียว
ถ้านำกล้องสีแดงมาใส่กับสีเหลือง จะเกิดเป็นสี สีส้ม
ถ้านำกล้องสีน้ำเงินผสมกับสีแดง จะเกิดเป็นสีม่วง


ภาพผลงานการประดิษฐ์กล้องผสมสี























หลังจากส่งงานและนำเสนองานประดิษฐ์เสร็จอาจารย์สอนเรื่องการเขียนหน่วยเพื่อนำไปสู่การเขียนแผนเพื่อจัดประสบกาณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งหน่วยการสอก็มีกำหนดอยู่ในหลักสูตรปฐมวัยดังนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วย


1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก


2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่


3. ธรรมชาติรอบตัว


4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


และให้เขียนหน่วยมาส่งอาจารย์กลุ่มละ 1 หน่วย ใช้สอน 5 วัน และให้ดูวีซีดี เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ มีเนื่อหาดังนี้ คุณสมบัติของน้ำ มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ การเปลี่ยนแปลของเหลว เรียกว่า การควบแน่น และเมื่อแหล่งไอน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะกลายเป็นไอ ไอน้ำลอยตัวไปกระทบกับความเย็นบนท้องฟ้าจึงเกิดการควบแน่นทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ


- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบว่าการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมายหลายชนิดล้วนเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ และได้รู้ว่าการจัดหน่วยการสอนของเด็กปฐมวัยควรมีสาระการเรียนรู้อะไรบ้างที่เหมาะสมเพื่อไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยได้รับเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กมากที่สุด อีกทั้งได้รู้การเกิดน้ำและประโยชน์ของน้ำที่ได้ดูวีซีดี เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้รับประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองเป็นอย่างมาก





















วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 30 สิงหาคม 2554

อาจารย์พูดเรื่อง แกนทิชชูที่เหลือใช้ว่าสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใหม่ได้อีกดังนี้
แกนทิชชู => - การแก้ปัญหา คือ อย่าใช้เยอะ นำมาใช้ใหม่
- เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ผลิตจากธรรมชาติ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดพลังงาน
- ประโยชน์ คือ นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ ขายได้ราคา
อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชูมา 1 อย่างต่อ 2 คน และได้สอนเรื่องการสอนแบบโครงการว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการให้กับเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งการสอนแบบโครงการมีวิธีการสอน ดังนี้
1. เริ่มโครงการ => - เลือกหัวเรื่อง
- อยากรู้เลื่อกอะไร โดยการใช้คำถามแล้วได้คำตอบมา
- ทำอย่างไร
- ทบทวนประสบการณ์เดิม
2. ดำเนินการ => ดำเนินการลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางไว้และเก็บร่องรอยหรือถ่ายรูปเก็บไว้
3. สรุป => จากการที่ได้เรียนได้ไปดูมานำมาแสดงผลงานหรือจัดนิทรรศการ

- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้ คือ แกนทิชชูที่สามารถนำมาประยุกต์ได้อีกโดยการนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อีกและได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการที่เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะยาวสามารถใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้เมื่อตอนเราฝึกสอนหรือเป็นครูต่อไปในภายหน้า

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 23 สิงหาคม 2554

อาจารย์พูดเรื่องสิ่งที่สามารถนำมาประดิษฐ์ของได้จากวัสดุเหลือใช้มีดังนี้
- แกนทิชชู
- ฝาขวดน้ำ
- หลอด
- ปากกา
- กระดาษ
- กล่องนม
- กล่องยาสีฟัน
- กระป๋อง
- ลัง
- แก้วน้ำ
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
- ลงมืองกระทำ => มือ ตา หู ลิ้น จมูก
- คิดสร้างสรรค์ => คิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยึดหยุ่น คิกละเอียดละออ
- วิธีการ => สอดคล้องกับพัฒนาการ มีความหลากหลายในการใช้สื่อและกระบวนการเทคนิค
- เนื้อหา => สอดคล้องกับหน่วย ใกล้ตัว
- มีลำดับขั้นตอน

อาจารย์ได้ยกตัวอย่างหน่วยการสอนที่ใช้สอนเด็กได้ คือ หน่วยดอกไม้
1. หน่วยดอกไม้
- สวนประกอบของดอกไม้
- ดอกไม้มีชนิดอะไรบ้าง
- มีสีอะไร
- มีประโยชน์อย่างไร
- ขยายพันธ์ด้วยวิธีการใด
- วิธีการดูแล
- วิธีการปลูก
2. สถานที่
- สวนดอกไม้
- ร้านขายดอกไม้
- ห้องสมุดหรืออินเทอร์เน็ต
- ร้านขายของที่ระลึก
3. การจัดกิจกรรม
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ => แต่งเพลง เคลื่อนไหวเกี่ยวกับดอกไม้
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ => เชิญวิทยาการมา ไปทัศนะศึกษาในสถานที่ที่เกี่ยวกับดอกไม้
- กิจกรรมศิลปะ => วาดรูป พิมพ์ภาพ ประดิษฐ์ แต่งนิทาน ประกอบอาหาร
- กิจกรรมเล่นเสรี => การจัดมุมต่างๆ
- กิจกรรมกลางแจ้ง => เกมส์
4. สรุปนำเสนอ
- นิทรรศการ
- เพลง
- นิทาน
- แผนที่
- งานประดิษฐ์
- ส่วนประกอบ
- อาหาร
- เกมส์
ดอกไม้ เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีการทดลองเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน คือ การประกอบอาหาร


- จากที่ได้เรียนมาวันนี้ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กว่าควรเลือกหน่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กและสิ่งที่เหมาะแก่การสอนเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งทึ่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม 2554

อาจารย์ให้ส่งงาน ของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนที่ไปปรับปรุงแก้ไขและหาข้อมูลว่าของเล่นนั้นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร และอาจารย์ติดภาระกิจต้องออกไปก่อนเวลาจึงให้นักศึกษา ดูวิดีโอ เรื่องแสง และสรุปได้ดังนี้
สรุป เรื่องแสง
แสง >>ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ และที่รามองเห็นวัตถุได้นั้นก็ เพราะ แสงส่องมาโดนวัตถุนั้นๆและสะท้อนมาโดนตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้ อีกทั้งมนุษย์สามารถนำแสงมาทำประโยชน์อื่นๆได้
การเคลื่อนที่ของแสง >> แสงเคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรงอย่างเดียวไปจนถึงที่กั้นวัตถุของแสง
ลักษณะของแสง
1. วัตถุโปร่งแสง
2. วัตถุโปร่งใส
3. วัตถุทึบแสง
การเปลี่ยนทิศทางของแสง >> เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุที่แตกต่างกันจะทำให้เห็นสิ่งที่ลอกตาได้ เรียกว่า การหักแหของแสง


หาเพิ่มเติม

ความรู้เรื่องแสง
คนเรามองเห็นได้อย่างไร
การมองเห็นเป็นระบบรับความรู้สึกที่ประกอบด้วย ลูกตา ประสาทตาและสมอง (ส่วน Visual
Cortex) โดยแสงสะท้อนจากวัตถุผ่านตาดำ ไปยังแก้วตา จากนั้นจะหักเหไปตกกระทบบริเวณจอตา เซลล์ประสาทบริเวณจอตาจะปรับสัญญาณที่ได้รับส่งไปทางประสาทตา เพื่อให้สมองได้รับทราบและแปล สิ่งที่มองเห็น ถ้าระบบดังกล่าวสูญเสีย ณ บริเวณใดการมองเห็นก็จะสูญเสียไปด้วย การมองเห็นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ แสงสว่างและสายตา โดยปกติตาสามารถปรับตัวเองใน การมองวัตถุที่มีสภาพแสงสว่างแตกต่างกัน แต่ถ้าหากว่ากล้ามเนื้อตาต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแสงสว่าง ที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน กล้ามเนื้อตาจะเกิดความเมื่อยล้า ทำ ให้ประสิทธิภาพการทำ งานลดลง แสงสว่างที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ตาสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนและรวดเร็ว
- ลำแสง
ลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้ แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ เช่น แผ่นเหล็ก ผนังคอนกรีต กระดาษหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส เห็นสิ่งต่างๆได้ (ภาพที่ 12.1) แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง
- สีของแสง
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งประกอบด้วยแสง 7 สี ผสมอยู่ด้วยกัน เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง 7 สีได้ โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม ได้แก่ หยดน้ำฝน ละอองไอน้ำ โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง 7 สี ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ (ภาพที่ 12.2)สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ แสงทั้ง 7 สี จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 3 x 108 เมตรต่อวินาที เท่ากันทุกสี แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ คือ บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ) เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป เราเรียนว่า แสงเกิดการหักเห ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น 7 สี นั้นเอง ดังภาพ

















- การหักแหของแสง
แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไปเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ความเร็วของแสงจะลดลง จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม เรียกว่า แสงเกิดการหักเห ดังภาพ











- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบถึงเรื่องแสงที่สามารถรู้ได้ว่าแสงมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไรและวัตถุที่แสงเดินผ่านมีอะไรบ้าง เพราะแสงเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและรอบตัวเราและแสงยังทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ดังนั้นแสงจึงมีประโยชน์กับมนุษย์ทุกคนมาก






























บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 9 สิงหาคม 2554

สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีการสอบวัดประเมินผลของแต่ละวิชาจึงไม่มีการจัดการเรียนการสอน


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 2 สิงหาคม 2554



อาจารย์ให้นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน ของดิฉันคือ ร่มชูชีพดังนี้


ชื่อผลงาน ร่มชูชีพ


วัสดุอุปกรณ์


1. ถุงพลาสติก


2. กรรไกร


3. เชือก


4. เทปใส


5. ตุ๊กตา


วิธีการทำ


1. ตัดถุงพลาสติกเป็นวงกลมตามขนาดที่ต้องการ
2. วัดมุมเป็น 8 มุม ส่วนปลายถุงพลาสติกตัดเป็นช่องเพื่อใส่เส้นเชือก


3. ตัดเชือกเป็น 8 เส้น และทำเป็นบ่วงเล็กๆส่วนบน


4. นำเส้นเชือกที่เตรียมไว้ไปใส่ในช่องทีละเส้นและติดด้วยเทปใสจนครบทุกอัน


5. เสร็จแล้วนำปลายเชือกมามัดรวมกัน และนำตุ๊กตามาใส่ที่ปลายเชือก



วิธีการเล่น


รวบส่วนที่เป็นร่มและเชือกเข้าด้วยกันจากนั้นโยนให้สูงที่สุด เมื่อหล่นลงมาร่มก็จะกางออกและจะเป็นร่มชูชีพ



รูปภาพผลงาน ร่มชูชีพ




















- จากการเรียนวันนี้ทำให้รู้ว่าของเล่นที่นำเรานำมาและเพื่อนนำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เพราะของเล่นแต่ชนิดล้วนแต่เป็นวิทยาศาสตร์แต่เราไม่ทราบว่าเป็นวิทยาศาสตร์แบบไหน อย่างไรบ้าง แต่ในวันนี้ก็ได้ทราบของเล่นที่เป็นวิทยาศาสตร์หลายชนิด






















































































































































































วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 กรกฎาคม 2554

อาจารย์ให้แต่ละคนเขียน โครงการ ลดละเลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด มีหัวข้อดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
2. การดำเนินกิจกรรม
3. สื่อและอุปกรณ์
4. ประโยชน์
หลังจากอาจารย์สั่งงานเสร็จแล้วได้สอนเนื้อหาจาก Power Point ดังนี้


เด็กปฐมวัย - วัยที่อยากรู้อยากเห็น
- วัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาทีสุดของชีวิต
- แสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะที่ส่งเสิมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
1. ความหมายทักษะการสังเกต
ทักษะการสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ
2. ความหมายทักษะการจำแนก
เป็นความสามารถในการแบ่งประเภท โดยหาเกณฑ์
2.1 ความเหมือน
2.2 ความแตกต่าง
2.3 ความสัมพันธ์ร่วม
3. ความหมายทักษะการวัด
การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาตรของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยวัดกำกับ
3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
3.2 การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
3.3 วิธีการที่เราจะวัด
4. ทักษะการสือความหมาย
การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ควมสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
4.1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
4.2 บันทึกการเปลี่ยนของวัตถุ
4.3 บอกความสัมันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล
6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกะจกเงา การหาความสัมพันธุ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
6.1 ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ
6.2 บอกความสัมพันธุ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
6.3 บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
7. ความหมายทักษะการคำนวณ
ความสามารถในการนับจำนวน ของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนับจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว
7.1 การนับจำนวนของวัตถุ
7.2 การบวก ลบ คูณ หาร
7.3 การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดหรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ
ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์
- มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
- ความจำเป็นที่จะต้องไปใช้ในชีวิตประจำวัน

- หลังจากการเรียนวันนี้ทำให้ได้รับความรู้ทักษะต่างๆที่สามมารถนำไปใช้ในการปรับการเรียนนำความรู้ที่ได้และที่มีอยู่ไปปรับใช้ให้เข้ากันเพื่อ พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของทักษะต่างๆ และต่อไปในอนาคตจะนำไปเป็นแนวทางในการสอนกับเด็กๆให้ดีๆเพื่อให้เด็กได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม และหลากหลายเป็นการพัฒนาเด็กในหลายๆด้านอีกด้วย
บันทึกการเรียนรู้ วันที่ 20 กรกฎาคม 2554

ไม่ใช่เป็นวันการเรียนการสอนแต่ อาจารย์นัดมาเพื่อทำกิจกรรม ลดละเลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติต มีกิจกรรมดังนี้
1. เดินรณรงค์
2. การทดลองโทษของบุหรี่
3. ให้เด็กเขียนการ์ดโทษของบุหรี่

จากการจัดกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กๆได้รู้โทษของเหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดทำให้เด็กไม่กล้าเข้าใกล้และนำไปบอกพ่อ แม่ผู้ปกครองได้ว่าถ้าหากสูบบุหรี่ กินเหล้าทำให้รับโทษอย่างที่เขาได้เห็น และกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ เพราะ เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำ

รูปกิจกรรม


























































































































































































วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กรกฎาคม 2554

อาจารย์ให้นำเสนองานที่ยังไม่เสนอในครั้งที่ผานมา กลุ่มของดิฉันนำเสนองาน การเดินทางของแสง
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบลักษณะทางเดินของเเสง ว่าเเสงเดินทางเป็นเส้นตรง
วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษที่เจาะรูตรงกัน 3 เเผ่น
2. เทียนไข
3. เชือก
วิธีทดลอง
1. วางกระดาษที่เจาะรูตรงกัน 3 เเผ่น ห่างกัน 10-15 ซม.
2. ใช้ดินน้ำมันยึดที่ฐาน ไม่ให้กระดาษล้ม
3. ใช้เชือกร้อยผ่านรู เเล้วดึงให้ตึง ปรับดินน้ำมันที่ยึดไว้อีกครั้ง
4. จุดเทียนไขหน้ากระดาษเเผ่นเเรก ให้เปลวไฟอยู่ตรงกลาง เเละระดับเดียวกันกับรู
5. มองที่รูของกระดาษเเผ่นเเรก ไปยังเเผ่นที่ 2 เเละ 3 สังเกตว่า เห็นเปลวเทียนหรือไม่
6. เลื่อนกระดาษเเผ่นที่ 2 ออกไปทางด้านข้าง
7. มองที่รูของกระดาษเเผ่นเเรก ไปยังเเผ่นที่ 2 เเละ 3 อีกครั้ง สังเกตว่า เห็นเปลวเทียนหรือไม่

และหลังจากที่เสร็จการนำเสนองานครั้งที่ไม่ผ่านแล้ว ก็เริ่มเสนองานใหม่คือ จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาสาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
แต่เมื่อนำเสนอกิจกรรมของแต่กลุ่มก็มีข้อตำหนิเลยไม่ได้นำเสนอ แต่อาจารย์ให้เขียนมาในครั้งต่อไป ว่ากิจกรรมทีนำมาเสนอมีหัวข้อดังนี้ 1. เขียนชื่อกิจกรรม 2. อุปกรณ์ 3. ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม 4. concep ของกิจกรรม 5. ผลประโยชน์ที่ได้รับ หลังจากนั้นอาจารย์พูดเรื่อง
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีขั้นตอนดังนี้
1. ตั้งสมมุติฐาน
2. ทดลอง
3. ลงมือปฏิบัติ
4. บันทึกผล แล้วนำผลที่ได้ไปเทียบเคียงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
- วิทยาศาสตร์ ที่จัดเพื่อให้เด็กได้ คือ
1. ความรู้
2. ทักษะทางวิทยาศาสตร์
- หลักการจัดประสบการณ์
1. เรื่องใกล้ตัว
2. สอดคล้องกับความต้องการ
3. มีผลต่อเด็ก เช่น สึนามิ มีผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างไร
หลังจากนั้น อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียน โครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด ถวายพ่อหลวง

- จากการเรียนวันนี้ ทำให้ดิฉันทราบถึงข้อบกพร่องในการนำเสนองานและการเตรียมอุปกรณ์ที่นำมาเสนองานในครั้งนี้ และทำให้ทราบถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์จะทำให้เด็กได้อะไรบ้าง และหลักการจัดประสบการณ์จะทำให้เรามีความรู้ในการที่จะทำไปบูรณาการในการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และวิธีการที่ถูกต้องในการสอนเด็กได้มากขึ้น

ภาพกิจกรรม การนำเสนองาน การเดินทางของแสง


วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 12 กรกฏาคม 2554

อาจารย์ให้นำเสนองานครั้งที่แล้วไม่ผ่านแก้ใหม่ และหลังจากที่เสร็จการนำเสนองานครั้งที่ไม่ผ่านแล้ว ก็เริ่มเสนองานใหม่คือ จัดกิจกรรมการทดลองวิทยาสาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 5 กรกฏาคม 2554

อาจารย์ให้ออกนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม กลุ่ม 1 - 3 ออกนำเสนองานได้นิดหนึ่งแต่อาจารย์ให้กลับเข้าไป เนื่องจากแต่ละกลุ่มนำเสนองานในรูปแบบ Power Point ซึ่งอาจารย์ต้องการนำเสนองานในรูปแอบบใหม่ๆต่างจากนี้ แต่กลุ่ม 3-6 ออกมานำเสนองานอาจารย์ให้เสนองานจนเสร็จ เพราะ เสนองานในรูปแบบของการทำกิจกรรม เมื่อแต่ละกลุ่มเสนองานเสร็จอาจารย์บอกข้อปรับปรุงและเสนอเนะของแต่ละกลุ่มเลยเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ กลุ่มของดิฉัน กลุ่มที่ 5 ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กทำได้ กลุ่มดิฉัน นำเสนอวิธีการทำ "กังหันลม" หลังจากแต่ละกลุ่มนำเสนองานเสร็จอาจารย์ได้สั่งงานในครั้งต่อไป คือ เตรียมจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 1 อย่างส่วนกลุ่มที่ไม่ผ่านอาจารย์ให้แก้ใหม่ครั้งหน้า


- จากการเรียนวันนี้ ทำให้ดิฉันทราบถึงข้อบกพร่องในการนำเสนองานที่ไม่มีความหลากหลายและแปลกใหม่ซึ่งอาจเกิดจากความเคยชิน แบบง่ายๆ ทำให้ไม่เกิดความคิดที่หลากหลายและแปลกใหม่ก็ได้

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มิถุนายน 2554

อาจารย์ได้บอกคุณธรรมจริยธรรมที่ควรปฏิบัติในการเข้าห้องเรียนและอาจาย์ให้ฟังเพลง ไอน้ำ แล้วให้คิดความรู้ที่ได้จากเพลงนี้ เพลงนี้เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เพลงนี้นำไปใช้ในการจัดประสบกาณ์อย่างไร มีเนื้อหาดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากเพลงนี้
- แสงอาทิตย์ส่องแสงไปในน้ำทำให้น้ำร้อนและน้ำเกิดการระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นท้องฟ้า
- ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดความร้อน
- น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ เพราะ ถูกความร้อน
2. เพลงนี้เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร
- น้ำกลายเป็นไอที่เกิดจากความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้
- เป็นผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
- ความร้อนทำให้เกิดการแปลง
3. เพลงนี้นำไปใช้ในการจัดประสบกาณ์
- นำไปใช้สร้างหน่วย เนื้อหาสาระ
- นำเพลงมาเป็นสื่อ
ได้กล่าวถึง ความหมาย ของวิทยาศาสตร์
- เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
- เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้
หาเพิ่มเติม

ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ตรงกับอภาษาอังกฤษว่า Science ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า Scientia แปลสั้นๆง่าย คือ ความรู้หรือความรู้ที่รวบรวมไว้อย่างมีระบบ ระเบียบ หรือความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ
กล่าวโดยสรุป วิทยาศาสตร์ หมายถึง ตัวความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (scientific product)และกระบวนการในการแสวงหาความรู้ (scientific product)ซึ่งแยกย่อยเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)กับเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (scientific attitude)

อ้างอิง
วิไลลัษณ์ ตั้งเจริญ. ความหมายของวิทยาศาสตร์.พิมพ์ ครั้งที่3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ,2539

ความสำคัญ ของวิทยาศาสตร์
- ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การกินอาหาร
- ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- ใช้ในการสร้างอาชีพ
- ทำให้เกิดการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
- ทำให้พยากรณ์อากาศรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
- สิ่งที่อยู่ในโลกนี้
- เกิดการพัฒนาผลิตสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้
- เด็ก
- เกิดข้อค้นพบและเอาตัวรอดได้
- เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง เกิดการพิสูจน์ด้วยตนเอง
- สิ่งแวดล้อม
- ทำให้เกิดการฤดูกาล
- ทำให้เกิดความสมดุล
หาเพิ่มเติม


ทฤษฎีพัมนาการทางสติปัญญา
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
พัฒนาการเด็กแรกเกิด - ปี เด็กพยายามคว้าของเข้าปาก เก็บสะสมประสบการณ์ให้มากๆ เพื่อสร้างเส้นใยสมอง
หาเพิ่มเติม




- จากการเรียนวันนี้ดิฉันว่า ทั้งความหมาย ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ล้วนมีประโยชน์และสำคัญต่อการจัดการเรียน การสอนว่าเราสามารถนำใช้อย่างไรถึงจะถูกต้องเหมาะสมมากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 วันที่ 21 มิถุยายน 2554

คาบนี้เป็นคาบแรกในการเข้าเรียนอาจารย์ได้อธิบายชื่อวิชาที่เรียน ดังนี้
การจัดประสบการณ์ เป็นการจัดหรือออกแบบ
ประสบการณ์ทำให้เกิดการรับรู้ หรือการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง คือ ตา ดู, หู ฟัง, ลิ้น ชิมรส, กาย สัมผัส และ การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอด
วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมด
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ สังเกตุ ทดลอง ตั้งสมมุติฐาน บันทึก สรุป และนำผลทั้งหมดมาแก้ปัญหา
เด็กปฐมวัย มีความต้องการ ความสามารถ ดูจากพัฒนาการ และวิธีการเรียนรู้ มาจากการลงมือปฏิบัติ
หลังจากอาจารย์ได้อธิบายเสร็จแล้วได้บอกข้อตกลงของวิชาเรียนและการทำบล็อกว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง เพื่อให้ทำออกมาตามที่อาจารย์บอกและตรงตามเป้าหมาย

- จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบจุดประสงค์ที่จะเรียนและเนื้อวิชาในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากขึ้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในวิชาที่เรียนได้มากขึ้น