วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งทึ่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม 2554

อาจารย์ให้ส่งงาน ของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนที่ไปปรับปรุงแก้ไขและหาข้อมูลว่าของเล่นนั้นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร และอาจารย์ติดภาระกิจต้องออกไปก่อนเวลาจึงให้นักศึกษา ดูวิดีโอ เรื่องแสง และสรุปได้ดังนี้
สรุป เรื่องแสง
แสง >>ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ และที่รามองเห็นวัตถุได้นั้นก็ เพราะ แสงส่องมาโดนวัตถุนั้นๆและสะท้อนมาโดนตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้ อีกทั้งมนุษย์สามารถนำแสงมาทำประโยชน์อื่นๆได้
การเคลื่อนที่ของแสง >> แสงเคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรงอย่างเดียวไปจนถึงที่กั้นวัตถุของแสง
ลักษณะของแสง
1. วัตถุโปร่งแสง
2. วัตถุโปร่งใส
3. วัตถุทึบแสง
การเปลี่ยนทิศทางของแสง >> เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุที่แตกต่างกันจะทำให้เห็นสิ่งที่ลอกตาได้ เรียกว่า การหักแหของแสง


หาเพิ่มเติม

ความรู้เรื่องแสง
คนเรามองเห็นได้อย่างไร
การมองเห็นเป็นระบบรับความรู้สึกที่ประกอบด้วย ลูกตา ประสาทตาและสมอง (ส่วน Visual
Cortex) โดยแสงสะท้อนจากวัตถุผ่านตาดำ ไปยังแก้วตา จากนั้นจะหักเหไปตกกระทบบริเวณจอตา เซลล์ประสาทบริเวณจอตาจะปรับสัญญาณที่ได้รับส่งไปทางประสาทตา เพื่อให้สมองได้รับทราบและแปล สิ่งที่มองเห็น ถ้าระบบดังกล่าวสูญเสีย ณ บริเวณใดการมองเห็นก็จะสูญเสียไปด้วย การมองเห็นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ แสงสว่างและสายตา โดยปกติตาสามารถปรับตัวเองใน การมองวัตถุที่มีสภาพแสงสว่างแตกต่างกัน แต่ถ้าหากว่ากล้ามเนื้อตาต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแสงสว่าง ที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน กล้ามเนื้อตาจะเกิดความเมื่อยล้า ทำ ให้ประสิทธิภาพการทำ งานลดลง แสงสว่างที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ตาสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนและรวดเร็ว
- ลำแสง
ลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้ แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ เช่น แผ่นเหล็ก ผนังคอนกรีต กระดาษหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส เห็นสิ่งต่างๆได้ (ภาพที่ 12.1) แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งใสได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง
- สีของแสง
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งประกอบด้วยแสง 7 สี ผสมอยู่ด้วยกัน เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง 7 สีได้ โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม ได้แก่ หยดน้ำฝน ละอองไอน้ำ โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง 7 สี ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ (ภาพที่ 12.2)สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ แสงทั้ง 7 สี จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 3 x 108 เมตรต่อวินาที เท่ากันทุกสี แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ คือ บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ) เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป เราเรียนว่า แสงเกิดการหักเห ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น 7 สี นั้นเอง ดังภาพ

















- การหักแหของแสง
แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไปเมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ความเร็วของแสงจะลดลง จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม เรียกว่า แสงเกิดการหักเห ดังภาพ











- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบถึงเรื่องแสงที่สามารถรู้ได้ว่าแสงมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไรและวัตถุที่แสงเดินผ่านมีอะไรบ้าง เพราะแสงเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและรอบตัวเราและแสงยังทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ดังนั้นแสงจึงมีประโยชน์กับมนุษย์ทุกคนมาก






























บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 9 สิงหาคม 2554

สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีการสอบวัดประเมินผลของแต่ละวิชาจึงไม่มีการจัดการเรียนการสอน


วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 2 สิงหาคม 2554



อาจารย์ให้นำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน ของดิฉันคือ ร่มชูชีพดังนี้


ชื่อผลงาน ร่มชูชีพ


วัสดุอุปกรณ์


1. ถุงพลาสติก


2. กรรไกร


3. เชือก


4. เทปใส


5. ตุ๊กตา


วิธีการทำ


1. ตัดถุงพลาสติกเป็นวงกลมตามขนาดที่ต้องการ
2. วัดมุมเป็น 8 มุม ส่วนปลายถุงพลาสติกตัดเป็นช่องเพื่อใส่เส้นเชือก


3. ตัดเชือกเป็น 8 เส้น และทำเป็นบ่วงเล็กๆส่วนบน


4. นำเส้นเชือกที่เตรียมไว้ไปใส่ในช่องทีละเส้นและติดด้วยเทปใสจนครบทุกอัน


5. เสร็จแล้วนำปลายเชือกมามัดรวมกัน และนำตุ๊กตามาใส่ที่ปลายเชือก



วิธีการเล่น


รวบส่วนที่เป็นร่มและเชือกเข้าด้วยกันจากนั้นโยนให้สูงที่สุด เมื่อหล่นลงมาร่มก็จะกางออกและจะเป็นร่มชูชีพ



รูปภาพผลงาน ร่มชูชีพ




















- จากการเรียนวันนี้ทำให้รู้ว่าของเล่นที่นำเรานำมาและเพื่อนนำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เพราะของเล่นแต่ชนิดล้วนแต่เป็นวิทยาศาสตร์แต่เราไม่ทราบว่าเป็นวิทยาศาสตร์แบบไหน อย่างไรบ้าง แต่ในวันนี้ก็ได้ทราบของเล่นที่เป็นวิทยาศาสตร์หลายชนิด