วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16 วันที่ 4 ตุลาคม 2554

อาจารย์นัดสอบมีการสอบปลายภาค

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 วันที่ 27 กันยายน 2554

อาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดเพื่อสรุปให้นักศึกษาฟังและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดเพื่อที่จะสอบในครั้งหน้า
ความรู้ที่ได้รับจาก วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์
- ความหมายวิทยาศาสตร์
- สื่อวิทยาศาสตร์
- ทักษะวิทยาศาสตร์
- ของเล่นวิทยาศาสตร์

- การสอนแบบโครงการ
- การเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
- การทำโครงการวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- การจัดนิทรรศการ
-การประเมินทางวิทยาศาสตร์


- จากที่ได้ฟังเนื่อจากการสรุปองค์ความรู้มาทั้งหมดทำให้ทราบว่า การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเราต้องเข้าใจ เรียนรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์ให้มีความรู้เพื่อที่นำไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ และทั้งหมดที่ได้เรียนมาในวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ทราบเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์ในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 20 กันยายน 2554

อาจารย์เปิดดู Bloggr และตรวจดู Bloggr ของนักศึกษาและก็ให้นักศึกษาไปแก้ไขเพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่อาจารย์อธิบายถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนก
3.ทักษะการแสดงปริมาณ
4.ทักษะการสื่อความหมาย
5.ทักษะการแสดงความคิดเห็น
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
อาจารย์ให้ส่งแผนของแต่ละคน แผนของดิฉัน เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้ ดังนี้
จุดประสงค์
1. สามารถบอกประโยชน์ของผลไม้ได้
2. มีความเข้าใจว่าผลไม้แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ
1. การบอกอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้
2. การเข้าใจของผลไม้แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์ที่เหมือนและแตกต่างกัน
- สาระที่ควรเรียนรู้
1. ประโยชน์ของผลไม้
กิจกรรม
ขั้นนำ
1. ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง ดังนี้ ดูซิผลไม้ไทย มีลำไย และส้มโอ มะละกอและแตงโม ผลโตๆมีมากมาย มีไว้ขายและรับประทาน
ขั้นสอน
1. ครูนำผลไม้จำลองมาให้เด็กๆดูหลายชนิด แล้วครูหยิบผลไม้ขึ้นมา 1 ชนิดและถามว่า เด็กๆทราบไหมว่าผลไม้ที่ครูหยิบมามีประโยชน์อย่างไรบ้างเอ่ย
2. ครูให้เด็กออกมาหยิบผลไม้ที่ตนเองชอบ 1 ชนิด
3. ให้เด็กบอกว่าผลไม้ที่เด็กชอบมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
4. ครูนำภาพประกอบประโยชน์จากการที่เด็กๆทานผลไม้แล้วดีอย่างไร เช่น กินผลไม้แล้วร่างกายแข็งแรง กินผลไม้แล้วขับถ่ายง่าย ฯลฯ
ขั้นสรุป
- ใช้คำถามว่าผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และร่วมกันท่องคำคล้องจองอีกครั้ง
สื่อ
1. คำคล้องจอง
2. ผลไม้จำลอง
3. รูปภาพ
การประเมิน
สังเกต
1. การพูดบอกประโยชน์ของผลไม้
2. จากการตอบคำถามและเล่าประสบการณ์เดิม


- จากการเรียนในวันนี้ทำให้ทราบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้างมีความสำคัญอย่างไรและประโยชน์การเขียนแผนว่าถ้าเรามีแผนการสอนเราก็จะง่ายต่อการจัดการเรียนสอนให้กับเด็กได้

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งแผนกลุ่ม โดย กลุ่มของดิฉัน เขียนแผน หน่วยเรื่องผลไม้ และอาจารย์ถามว่าเรื่องที่เราเอามานั้นเอามาจากไหน หัวข้อเรื่องที่เราจะนำมาสอนเราก็ต้องดูจาก สาระการเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
และในแผนการสอนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ส่วนประกอบมีดังนี้
- วัตถุประสงค์

- สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ
- กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ขั้นสอน
ขั้นสรุป
เราจะต้องเขียนให้ครบทุกส่วนประกอบที่มีอยู่ในแผน เพื่อง่ายแก่การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้กับเด็ก และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนผน คือ หน่วยเห็ด เพื่อให้ทราบวิธีการเขียนที่ถูกต้องและนำไปเขียนแผนในแต่ละวันของตนเองที่ย่อยจากของกลุ่ม โดยให้แต่ละคนในกลุ่มเลือกหัวเรื่องที่ย่อยจากหัวเรื่องใหญ่มาเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ในแต่ะลวัน มั้งหมดมี 5วัน

- จากการเรียนวันนี้ได้ทราบถึงวิธีการเขียนที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยว่าควรมีอะไรเป็นลำดับชั้นตอนและสามารถรู้ได้อย่างไรว่าควรจัดประสบการณ์แบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งงานประดิษฐ์ที่ประดษฐ์จากแกนทิชชู ของดิฉันประดษฐ์ กล้องผสมสี
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบว่าการผสมสี 2สี แล้วจะเกิดเป็นสีอื่นอีกได้
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู 6 อัน
2. กระดาษแก้ว 3 สี
3. กระดาษสี
4. สติกเกอร์ใส
5. กรรไกร
6. กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ 6 แผ่น
3. นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6อัน
4. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5. นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1. นำกล้องอันเล็กสอดใส่อันใหญ่แล้วส่งไปทางที่มีแสงก็จะเกิดการผสมแล้วจะเปลี่ยนเป็นอีกสีหนึ่ง
เช่น ถ้านำกล้องสีเหลืองมาใส่กับสีนำเงิน จะเกิดเป็น สีเขียว
ถ้านำกล้องสีแดงมาใส่กับสีเหลือง จะเกิดเป็นสี สีส้ม
ถ้านำกล้องสีน้ำเงินผสมกับสีแดง จะเกิดเป็นสีม่วง


ภาพผลงานการประดิษฐ์กล้องผสมสี























หลังจากส่งงานและนำเสนองานประดิษฐ์เสร็จอาจารย์สอนเรื่องการเขียนหน่วยเพื่อนำไปสู่การเขียนแผนเพื่อจัดประสบกาณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งหน่วยการสอก็มีกำหนดอยู่ในหลักสูตรปฐมวัยดังนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วย


1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก


2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่


3. ธรรมชาติรอบตัว


4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


และให้เขียนหน่วยมาส่งอาจารย์กลุ่มละ 1 หน่วย ใช้สอน 5 วัน และให้ดูวีซีดี เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ มีเนื่อหาดังนี้ คุณสมบัติของน้ำ มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ การเปลี่ยนแปลของเหลว เรียกว่า การควบแน่น และเมื่อแหล่งไอน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะกลายเป็นไอ ไอน้ำลอยตัวไปกระทบกับความเย็นบนท้องฟ้าจึงเกิดการควบแน่นทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ


- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบว่าการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมายหลายชนิดล้วนเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ และได้รู้ว่าการจัดหน่วยการสอนของเด็กปฐมวัยควรมีสาระการเรียนรู้อะไรบ้างที่เหมาะสมเพื่อไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยได้รับเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กมากที่สุด อีกทั้งได้รู้การเกิดน้ำและประโยชน์ของน้ำที่ได้ดูวีซีดี เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้รับประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองเป็นอย่างมาก





















วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 30 สิงหาคม 2554

อาจารย์พูดเรื่อง แกนทิชชูที่เหลือใช้ว่าสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใหม่ได้อีกดังนี้
แกนทิชชู => - การแก้ปัญหา คือ อย่าใช้เยอะ นำมาใช้ใหม่
- เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ผลิตจากธรรมชาติ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดพลังงาน
- ประโยชน์ คือ นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ ขายได้ราคา
อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชูมา 1 อย่างต่อ 2 คน และได้สอนเรื่องการสอนแบบโครงการว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการให้กับเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งการสอนแบบโครงการมีวิธีการสอน ดังนี้
1. เริ่มโครงการ => - เลือกหัวเรื่อง
- อยากรู้เลื่อกอะไร โดยการใช้คำถามแล้วได้คำตอบมา
- ทำอย่างไร
- ทบทวนประสบการณ์เดิม
2. ดำเนินการ => ดำเนินการลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางไว้และเก็บร่องรอยหรือถ่ายรูปเก็บไว้
3. สรุป => จากการที่ได้เรียนได้ไปดูมานำมาแสดงผลงานหรือจัดนิทรรศการ

- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้ คือ แกนทิชชูที่สามารถนำมาประยุกต์ได้อีกโดยการนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้อีกและได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการที่เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะยาวสามารถใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กได้เมื่อตอนเราฝึกสอนหรือเป็นครูต่อไปในภายหน้า

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 23 สิงหาคม 2554

อาจารย์พูดเรื่องสิ่งที่สามารถนำมาประดิษฐ์ของได้จากวัสดุเหลือใช้มีดังนี้
- แกนทิชชู
- ฝาขวดน้ำ
- หลอด
- ปากกา
- กระดาษ
- กล่องนม
- กล่องยาสีฟัน
- กระป๋อง
- ลัง
- แก้วน้ำ
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
- ลงมืองกระทำ => มือ ตา หู ลิ้น จมูก
- คิดสร้างสรรค์ => คิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยึดหยุ่น คิกละเอียดละออ
- วิธีการ => สอดคล้องกับพัฒนาการ มีความหลากหลายในการใช้สื่อและกระบวนการเทคนิค
- เนื้อหา => สอดคล้องกับหน่วย ใกล้ตัว
- มีลำดับขั้นตอน

อาจารย์ได้ยกตัวอย่างหน่วยการสอนที่ใช้สอนเด็กได้ คือ หน่วยดอกไม้
1. หน่วยดอกไม้
- สวนประกอบของดอกไม้
- ดอกไม้มีชนิดอะไรบ้าง
- มีสีอะไร
- มีประโยชน์อย่างไร
- ขยายพันธ์ด้วยวิธีการใด
- วิธีการดูแล
- วิธีการปลูก
2. สถานที่
- สวนดอกไม้
- ร้านขายดอกไม้
- ห้องสมุดหรืออินเทอร์เน็ต
- ร้านขายของที่ระลึก
3. การจัดกิจกรรม
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ => แต่งเพลง เคลื่อนไหวเกี่ยวกับดอกไม้
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ => เชิญวิทยาการมา ไปทัศนะศึกษาในสถานที่ที่เกี่ยวกับดอกไม้
- กิจกรรมศิลปะ => วาดรูป พิมพ์ภาพ ประดิษฐ์ แต่งนิทาน ประกอบอาหาร
- กิจกรรมเล่นเสรี => การจัดมุมต่างๆ
- กิจกรรมกลางแจ้ง => เกมส์
4. สรุปนำเสนอ
- นิทรรศการ
- เพลง
- นิทาน
- แผนที่
- งานประดิษฐ์
- ส่วนประกอบ
- อาหาร
- เกมส์
ดอกไม้ เป็นวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีการทดลองเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน คือ การประกอบอาหาร


- จากที่ได้เรียนมาวันนี้ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กว่าควรเลือกหน่วยอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กและสิ่งที่เหมาะแก่การสอนเด็ก