วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน 2554

อาจารย์ให้ส่งงานประดิษฐ์ที่ประดษฐ์จากแกนทิชชู ของดิฉันประดษฐ์ กล้องผสมสี
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบว่าการผสมสี 2สี แล้วจะเกิดเป็นสีอื่นอีกได้
วัสดุอุปกรณ์
1. แกนทิชชู 6 อัน
2. กระดาษแก้ว 3 สี
3. กระดาษสี
4. สติกเกอร์ใส
5. กรรไกร
6. กาว
วิธีการทำ
1. ทำแกนทิชชู 2ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่
2. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี ไว้ 6 แผ่น
3. นำกระดาษแก้วที่ตัดไว้มาติดกาวบนปากแกนทิชชู ทั้ง 6อัน
4. นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม
5. นำสติกเกอร์ใสมาเคลือบแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1. นำกล้องอันเล็กสอดใส่อันใหญ่แล้วส่งไปทางที่มีแสงก็จะเกิดการผสมแล้วจะเปลี่ยนเป็นอีกสีหนึ่ง
เช่น ถ้านำกล้องสีเหลืองมาใส่กับสีนำเงิน จะเกิดเป็น สีเขียว
ถ้านำกล้องสีแดงมาใส่กับสีเหลือง จะเกิดเป็นสี สีส้ม
ถ้านำกล้องสีน้ำเงินผสมกับสีแดง จะเกิดเป็นสีม่วง


ภาพผลงานการประดิษฐ์กล้องผสมสี























หลังจากส่งงานและนำเสนองานประดิษฐ์เสร็จอาจารย์สอนเรื่องการเขียนหน่วยเพื่อนำไปสู่การเขียนแผนเพื่อจัดประสบกาณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งหน่วยการสอก็มีกำหนดอยู่ในหลักสูตรปฐมวัยดังนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วย


1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก


2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่


3. ธรรมชาติรอบตัว


4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


และให้เขียนหน่วยมาส่งอาจารย์กลุ่มละ 1 หน่วย ใช้สอน 5 วัน และให้ดูวีซีดี เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ มีเนื่อหาดังนี้ คุณสมบัติของน้ำ มี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ การเปลี่ยนแปลของเหลว เรียกว่า การควบแน่น และเมื่อแหล่งไอน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะกลายเป็นไอ ไอน้ำลอยตัวไปกระทบกับความเย็นบนท้องฟ้าจึงเกิดการควบแน่นทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ


- จากการเรียนวันนี้ทำให้ทราบว่าการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมายหลายชนิดล้วนเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ และได้รู้ว่าการจัดหน่วยการสอนของเด็กปฐมวัยควรมีสาระการเรียนรู้อะไรบ้างที่เหมาะสมเพื่อไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยได้รับเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กมากที่สุด อีกทั้งได้รู้การเกิดน้ำและประโยชน์ของน้ำที่ได้ดูวีซีดี เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้รับประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองเป็นอย่างมาก





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น